สาธิตการเรียน
เพียรแก้ปัญหา ก้าวหน้าปฏิบัติ
การพัฒนาการศึกษาถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติปีพุทธศักราช 2542 ได้กำหนดเนื้อหาสาระ เพื่อปฏิรูปการศึกษาของปวงชาวไทย โดยได้จัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยมีการเน้นฝึกทักษะกระบวนการคิด
การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาซึ่งกระบวนการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันก็มีหลากหลายวิธีซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีความแตกต่างกันออกไป
ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2561 ได้มีการแข่งขันทักษะงานมหกรรมการศึกษาเอกชนประจำปี 2561 ณ สหกรณ์สุราษฎร์ธานีจำกัด โดยภายในงานได้มีการจัดนิทรรศการที่มีความสอดคล้องกับวิธีการสอนในหลากหลายรูปแบบซึ่งการสอนแต่ละวิธีต่างก็มีความน่าสนใจเเละเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เข้าร่วมชมนิทรรศการด้วยกันทั้งสิ้น
ทั้งนี้ผู้ศึกษาได้เลือกศึกษาวิธีการสอนที่ได้เล็งเห็นแล้วว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนต่อไปในอนาคตมา
3 วิธี ได้แก่ การสอนโดยการปฏิบัติ การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และ การสอนโดยการสาธิต
วิธีการสอนทั้ง 3 วิธีนี้ที่ได้กล่าวมาข้างต้นมีส่วนสำคัญในการช่วยส่งเสริมพัฒนาการเรียนของผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. วิธีการสอนโดยการปฏิบัติ (practice) ผู้ศึกษาได้เลือกศึกษาโครงการพัฒนาสมองด้วยสองมือ
จากปลายประสาทปลายนิ้ว นำสู่การสร้างรอยหยักในสมอง กับ SPORT STACKING
COURSE ของโรงเรียนเทพมิตรศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โครงการนี้จะฝึกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยตรงโดยผ่านการลงมือปฏิบัติจริงด้วยกีฬาสแต็ค
(sport stacking ) เป็นกีฬาเรียงแก้วพลาสติกซึ่งแก้วที่เรียนจะมีทั้งหมด
12 ใบ ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับกีฬาชนิดนี้โดยเฉพาะกีฬาสแต็คจะมีวิธีการเล่นทั้งแบบ
Stack up คือ การเรียงขึ้น และการ Stack Down คือ การเรียงลง โดยผู้ที่เล่นกีฬาสแต็คจะมีชื่อเรียกกันว่า Stacker
เวลาทำการแข่งขันจะใช้การตัดสินโดยดูจากกระบวนการเล่นที่ถูกต้อง
และดูจากการทำเวลาในการเล่นที่เร็วที่สุด
ถ้าหากผู้เล่นคนใดทำได้คนนั้นก็จะเป็นผู้ชนะ
ซึ่งโครงการนี้จะเปิดสอนในระดับอนุบาลและระดับประถมศึกษา โดยมีผลงานที่สำคัญ คือ รางวัลเหรียญทอง
ประเภท Double Cycle รุ่นอายุ 12 ปี
(สถิติเป็นอะนดับที่ 4 ของโลก) กีฬาสแต็คจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาสมองและประสาทสัมผัสเช่น
การฝึกปฏิภาณไหวพริบและการป้องกันโรคอัลไซเมอร์เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการพัฒนาทักษะทางอารมณ์ เช่นฝึกให้ผู้เรียนมีความใส่ใจในสิ่งที่ทำและมีสมาธิมากยิ่งขึ้น
และส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการคิดวางแผนเพื่อพัฒนาตนเองเป็นต้น
2. วิธีการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based
instruction) ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับ สื่อ GIGO ซึ่งเป็นอุปกรณ์ตัวต่อเพื่อการศึกษาที่นำมาบูรณาการกับการสอนแบบสะเต็มศึกษา
(STEM) ดังนี้ สื่อ GIGO เป็นอุปกรณ์ที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบสะเต็ม
โดยให้นักเรียนคิดหาวิธีแก้ปัญหา ออกแบบ นวัตกรรมที่ต้องการสร้าง
โดยเริ่มคิดด้วยวิทยาศาสตร์
นำความรู้วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเครื่องกลและพลังงานมาใช้งาน
ใช้คณิตศาสตร์อธิบายความสัมพันธ์ของอุปกรณ์ต่างๆ
นำเทคโนโลยีต่างๆมาช่วยในการออกแบบแล้วสร้างเป็นชิ้นงานจริง
หรือต้นแบบด้วยกระบวนการทางวิศวกรรม
โดยจะช่วยให้ผู้เรียนมีความคิดวิเคราะห์ในการแก้ไขปัญหาได้ดี
และยังช่วยส่งเสริมจินตนาการให้แก่ผู้เรียนได้อย่างดีเยี่ยม
3. วิธีการสอนโดยการสาธิต (Domenstration) ผู้ศึกษาได้ศึกษาการทำตุ๊กตาปูนปลาสเตอร์ โดยการทำปูนปลาสเตอร์นั้นครูผู้สอนจะมีการสาธิตวิธีการทำให้ผู้เรียนดูอย่างละเอียดก่อนตั้งแต่กรรมวิธีการเตรียมปูนปาสเตอร์
โดยนำปูนปลาสเตอร์ไปผสมน้ำแล้วนำไปใส่ในพิมพ์ที่ทำมาจากยางพารา
เมื่อได้เป็นรูปทรงต่างๆแล้วจึงนำมาระบายสีให้มีสีสันสวยงามหลังจากที่ผู้สอนทำการสาธิตเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติทำตุ๊กตาปูนปลาสเตอร์ด้วยตนเอง
การสอนโดยการสาธิตนี้จะมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน
และยังฝึกให้ผู้เรียนคิดอย่างมีเหตุผลอีกด้วย
สรุป
ดังนั้นจึงเห็นได้ว่านิทรรศการ 100 ปี การศึกษาเอกชน มุ่งมั่นเพื่อพัฒนาการศึกษาไทย
เป็นนิทรรศการที่มีประโยชน์แก่ผู้เข้าชมเป็นอย่างมาก เพราะแสดงให้เห็นถึงหลักการและวิธีการสอนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน
สามารถฝึกทักษะการแก้ปัญหา และให้ผู้เรียน ลงมือปฏิบัติได้ และที่สำคัญคือ
สามารถเป็นแนวทางให้ครูผู้สอนนำวิธีการสอนนี้ไปประยุกต์และปรับใช้ในการเรียนการสอน
เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และนำความรู้และทักษะไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น